วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ไม้ดัดไทยท่าเรือ

ไม้ดัดไทย
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของดีอำเภอท่าเรือ


         
ไม้ดัดเป็นงานศิลปไทยโบราณชนิดหนึ่งที่นิยมเล่นกันมากจนถึงปัจจุบัน โดย
มีการเล่นไม้ดัดไทยตั้งแต่สมัยโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นการเล่นเพื่อศิลปะและ
ความเพลิดเพลิน เป็นกิจกรรมของคนมีเวลาว่าง เป็นศิลปะที่สะสมไว้อวดกันและยัง ช่วย ผ่อนคลายสำหรับผู้ที่เครียดกับการงาน เมื่อลงมือดัดหรือตกแต่งไม้ดัดจะช่วยให้
สุขภาพจิตดีขึ้นอย่างน่าประหลาด ที่สำคัญที่สุดคือใช้เป็นไม้ประดับตามสถานที่ต่าง ๆ จัดเป็นสวนหย่อมก็ให้ความโดดเด่นสวยงาม ปัจจุบันมีผู้นิยมหันมาเลี้ยงไม้ดัดไทยเป็น
เชิง พาณิชย์กันมากเพราะเป็นที่นิยมของตลาด
         
อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่ากันว่าเป็นแหล่งไม้ดัดไทยจำพวก
ตะโก ข่อย ฯลฯ ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ฝีไม้ลายมือในการสร้างสรรค์
ไม้ประดับ เหล่านี้เป็นเยี่ยมไม้แพ้ที่อื่น หรืออาจกล่าวได้ว่าฝีมือนั้นจัดอยู่ในอันดับ
ต้น ๆ ของประเทศเลยทีเดียว เป็นที่รู้จักของผู้รักไม้ดัดไทยเป็นอย่างดี เดิมเป็นแหล่ง
ไม้ตะโกและข่อยมากเป็นที่หนึ่ง ในปัจจุบันต้องนำไม้จากที่อื่นมาทำไม้ดัด บอนไซ
         
ไม้ที่จำหน่ายจะแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ไม้ป่า ซึ่งเป็นไม้ไทยขนาด
ใหญ่ ได้แก่ ไทร ตีนเป็ด หรือต้นสัตบรรณ มะยม มะรุม หว้า มะขามป้อม พิกุล ยาง ปีป อินจัน ฯลฯ
         
ไม้ช่อและบอนไซ ไม้ที่จะนำมาดัดได้คือ ข่อย ตะโก โพธิ์ ไทร ไกร กร่าง เชอร์รี่ มะขาม และแก้ว เป็นต้น ซึ่งเป็นไม้ข้อถี่ ใบเล็ก ใบละเอียด หากนำมาเป็นไม้ที่
ทำเป็นบอนไซจะต้องมีรากหรือเรียกว่าตีน คือต้องเป็นไม้มีตีนดี มีการคดงอของลำต้น
ที่สวยงาม ขณะนี้มีการนำเอาตะโกหนูมาประยุกต์เสียบลงบนตอต้นตะโกธรรมดา ปกติ
ตะโกธรรมดาใบจะใหญ่ แต่เมื่อเอาตะโกหนูมาเสียบแล้วจะทำให้ใบเล็กละเอียด เวลา
ดูชั้นจัดกิ่ง จัดจังหวะออกมาแล้วจะสวยกว่าใบตะโกใหญ่ เมื่อเราได้ไม้ที่จะนำมาเป็น
ช่อบอนไซแล้วจะต้องตัดเป้าดินให้ได้ขนาดกระถางที่เราต้องการ ตัดเป้าให้เล็กและ
เตี้ยเพื่อใส่กระถางที่บาง ๆ ได้ ส่วนดินที่จะใช้ผสมปุ๋ยคอกพวกขี้วัวและใบไม้ใน
อัตราส่วน 1 ต่อ 3 ของดิน แต่ไม้ไทยจะใช้ขุยมะพร้าวเพียงอย่างเดียว เพื่อสะดวกใน
เรื่องของการขนย้าย การบำรุงไม้ต่าง ๆ หากเป็นบอนไซตามทฤษฎีแล้ว 1 ปี จะต้อง
เปลี่ยนดินครั้งหนึ่งแล้วจัดเรียงรากใหม่ จะดูกันตั้งแต่โคนรากไปถึงต้น กิ่งใบ ลง
รายละเอียดลวดใหม่ ใส่ดิน ใบไม้ และขี้วัว ในส่วนของการดูแลไม้ช่อนั้น จะต้องมีการ
ตีลวดช่วยจัดจังหวะ คอยพรวนดิน เปลี่ยนหน้าดิน ใส่ปุ๋ยคอกขี้ค้างคาวช่วย เพราะจะ
ทำให้ใบเป็นมันและหน้าดินไม่แข็ง
         
ไม้อีกตัวหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมคือ ไม้ดัดรูปสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งในการทำไม้ประเภทนี้ เราจะวาดรูปสัตว์จากภาพตัวสัตว์จริง ลงบนกระดาษก่อน จากนั้นจึงตัดลวดไปตามแบบนั้น สิ่งที่เน้นคือตัดกลมกลืนเป็นธรรมชาติเหมือนกับ
เป็นสัตว์จริง ๆ ปัจจุบันนี้ทำเป็นรูปสัตว์ 12 ราศี กำลังเป็นที่นิยม ขายดี การทำตัวสัตว์
นี้ต้องชำไม้ไว้ก่อน เช่น ชาฮกเกี้ยน หรือข่อย คือชำไว้ให้มีขนาดสูงประมาณ 70 เซนติเมตร จากนั้น เอาโครงมาสวมก็ได้ แล้วเลี้ยงไปเรื่อย ๆ อาศัยรั้งกิ่งให้แนบกับ
โครงลวด แล้วตัดแต่ง ใช้เวลาไม่นานก็ขายได้




ศิลปประดิษฐ์โครงลวดดัด
เครื่องมือและอุปกรณ์
         1. ลวดอาบสังกะสี เบอร์ 8,10,12
         2.
ประแจดัดลวด เบอร์ 10,14
         3.
คีมตัดลวด
         4.
คีมปากแหลม
         5.
ตลับเมตร
         6.
สลิป (อุปกรณ์ต่อลวด) เบอร์ B5.5 และ B2
         7.
คีมบีบสลิปเพื่อต่อลวด
         8.
คีมบีบลวด (คีมปากนกแก้วเล็ก)
         9.
เศษท่อพีวีซี ขนาดต่าง ๆ เพื่อใช้ขดลวดให้เป็นวงกลม
        10.
ขาตั้งโครงลวดเพื่อสะดวกในการสานประกอบ
        11.
อุปกรณ์ร่างแบบ เช่นกระดาษหน้าขาว-หลังเทา ปากกาเคมี ดินสอ ไม้บรรทัดและยางลบ

ขั้นตอนการทำ
         ขั้นตอนที่ 1 เขียนแบบ
         
ก่อนอื่นต้องหารูปสัตว์ที่ต้องการจะทำก่อนโดยเลือกอิริยาบถที่เห็นโครงร่าง
ชัดเจน เช่น ยืนหันข้าง แล้วนำมาขยายลงบนแบบกระดาษแข็ง หรือไม้อัด โดยวิธีตี
ตารางขยายอัตราส่วนตามขนาดที่ต้องการ เมื่อวางโครงร่างเสร็จแล้ว ซึ่งจะแบ่งเป็น
ลำตัวไปจนถึงหัว ขา หาง เขา หู ให้กำหนดตำแหน่งที่จะใส่วงกลมเพื่อให้เกิดเป็น
ลำตัว หัว ปล้องหาง ระยะห่างของวงกลมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของขนาดที่จะทำ แต่โดยทั่วไปจะห่างประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร
         ขั้นตอนที่ 2 ตัด
         
นำแบบวางบนพื้นเรียบ เริ่มต้นตัดลำตัวก่อน โดยใช้ลวดเบอร์ 10 วางปลาย
ลวด ทับบนเส้นโครงลำตัวโดยเริ่มจากด้านใต้ท้อง ใช้ปลายเท้าเหยียบปลายลวดให้
แน่น แล้วเริ่มตัดโดยใช้ประแจตัดลวดห่างกันไม่เกิน 1 นิ้ว โดยให้ลวดที่ตัดทับแนว
เส้นโครง จนกระทั่งมาบรรจบที่จุดเริ่มต้น ตัดลวดส่วนที่เกินออกไป แล้วต่อปลายลวด
ทั้งสองด้วยสลิป โดยใช้คีมบีบสลิปเป็นตัวบีบให้แน่น หลังจากนั้นให้ตัดส่วนประกอบ
เช่น ขา หาง เขา หู และอื่น ๆ ให้ครบ
         ขั้นตอนที่ 3 สาน
         
นำโครงในส่วนที่เป็นลำตัวขึ้นวางบนแท่นยึดให้แน่น แล้วใช้ลวดเบอร์ 10 หรือเบอร์ 14 มาขดเป็นวงกลมโดยใช้ท่อ พีวีซี ขนาดต่าง ๆ ขนาดของเส้นผ่าน
ศูนย์กลางให้ได้ตามที่กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 1 ที่เกี่ยวกับวงกลมที่จะใส่เป็นลำตัว แล้ว
ต่อปลายด้วยสลิป จากนั้นแบ่งวงกลมออกเป็น 4 ส่วน โดยทำเครื่องหมายตรงกัน เมื่อใส่
วงกลมเสร็จแล้ว ต่อไปสานลำตัวโดยใช้ลวดเบอร์ 14 สานด้านข้างซ้าย-ขวา ก่อน โดยดู
จากเครื่องหมายที่ทำไว้ที่วงกลม จะเริ่มจากหัวไปท้ายหรือท้ายไปหัวก็ได้ ข้อสำคัญต้อง
ตัดลวดสานให้เป็นเส้นตรงก่อนสาน ขณะสานให้ดัดลวดไปตามส่วนโค้งส่วนเว้าของ
โครงด้วย เมื่อสานเสร็จแล้วให้สังเกตวงกลม จะถูกแบ่งเป็น 4 ส่วน ให้แบ่งออกเป็น
8
ส่วน แล้วใช้ลวดเบอร์ 14 สานเพิ่มเข้าให้ครบ จากนั้นให้ทำส่วนประกอบต่าง ๆ มาใส่
วงกลม เพื่อทำให้เป็นปล้องขา ปล้องหางและอื่น ๆ แล้วสานให้เกิดเป็นรูปทรงตามแบบ

         
ขั้นตอนที่ 4 ประกอบ
         
นำชิ้นส่วนต่าง ๆ มาประกอบเข้ากับลำตัวให้ตรงกับในแบบที่ร่างไว้ ใช้ลวดมัด
ให้ แน่นโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นขาต้องใช้ลวดสานเสริมเข้าไประหว่างขาซ้าย-ขวา เพื่อ
ให้แข็งแรง เป็นอันเสร็จขั้นตอน สามารถนำมาปลูกเอาต้นไม้ใส่ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น