วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทําอย่างไรถึงจะยกระดับบอนไซไทยให้เทียบเท่าต่างประเทศ

เราจะทําอย่างไรให้วงการบอนไซในประเทศไทยพัฒนาไปมากกว่านี้เพื่อให้ทัดเทียมอินโดนิเซีย มาเลเซีย ใต้หวัน ไม่นับรวมถึงญี่ปุ่น
ไม่ผิดที่กรรมการไทยหลายท่านจะออกมาตั้งมาตราฐาน123 และมีรูปทรงอยู่2-3ประเภทที่ติดรางวัลซํ้าแล้งซํ้าเล่า ไม่ formal upright ก็ informal uplight หรือ leaning ไม่พ้น2-3รูปทรงอยู่อย่างนี้ ผมอยากจะบอกว่า2-3รูปทรงดังกล่าวไม่ผิด แต่มันเป็นส่วนหนึ่งของ40รูปทรงที่ต่างประเทศเขาเล่นกัน กรรมการบ้านเราจะมีความชํานาญเชี่ยวชาญเป็นพิเศษกับไม้3รูปทรงนี้ เราเคยมีการส่งตัวแทนไปศึกษาการให้คะแนนไม้ทั้ง40รูปทรงในประเทศญี่ปุ่น หรือในอินโดนีเซียบ้างไม้ว่าทั้ง40รูปทรงเขามีการให้คะแนนกันอย่างไร
เข้าใจครับว่าถ้าเราไม่มีการกําหนดมาตราฐานการให้คะแนน เช่น "รากได้คะแนนเท่านี้ กิ่งหนึ่งต้องใหญ่กว่ากิ่ง2 , ระยะกิ่ง1-2-3ต้องเท่านี้. ถ้าไม่ทําแบบนี้ก็ทะเลาะกันตาย". แล้วทําไมในต่างประเทศเขาถึงไม่ทะเลาะกัน เขาเล่นไม้มาก่อนเรา เล่นได้กว้างขวางกว่าเรา และก็อยู่บนผลประโยชน์บางอย่างเหมือนกับเรานั่นแหละ แต่ทําไมเขาไม่ทะเลาะกัน และยํ้านะครับว่าทําไมเขาทําได้ แสดงว่าเขาต้องมีมาตราฐานอะไรบางอย่างที่เราไม่รู้ ผมจึงอยากแนะว่าเราน่าจะส่งตัวแทนไปเข้าอบรมหลักสูตรการเป็นกรรมการ เหมือนในวงการกีฬาต่างๆเขาก็มีการอบรมกรรมการทั้งสิ้น
ถ้าหากเราไม่ทําอย่างที่กล่าวมา วงการบอนไซบ้านเราจะล้าหลังยํ่าอยู่กับที่ไม่พัฒนาไปไหน ลองดูในอิตาลี่นะครับ มีศิลปินบอนไซรุ่นใหม่เก่งๆ อายุๆไม่เกิน35หลายคน มีผลงานได้รับรางวัลจากสมาคมต่างๆ มากมาย แต่บ้านเราพอเด็กรุ่นใหม่ทําไม้ออกมาที่กําลังจะมีแนวทางสไตล์ใหม่ๆเกิดขึ้น แต่กลับไม่ได่ติดโบแดงไม่ผ่านมาตราฐานซะอย่างนั้น จึงทําให้เด็กคนนั้นหมดความพยายาม และหันกลับไปเล่นไม้1-2-3เพื่อให้กรรมการ หน้าเก่ๆ ยอมรับ เราจึงเห็นบอนไซในบ้านเราหน้าตาเหมือนกันหมด ประดุจเหมือนออกมาจากโรงงานผลิตต้นไม้พลาสติกอย่างไงอย่างงั้น
ลองสังเกตุตัวเองดูสิครับ เวลาเราไปเปิด websiteต่างประเทศ เราจะเกิดความรู้สึกอึ่งทึ่ง ตะลึงในความวิจิตรงดงามของไม้เหล่านั้นมากแค่ไหน. ก็เพราะเราไม่เคยเห็นแบบนี้ในบ้านเราไงครับ
เพราะฉนั้นเราจะทําอย่างไรดี ให้บ้านเราพัฒนาบอนไซไปมากกว่านี้
ผมเคยได้ยินกรรมการไทยหลายคนพูดว่า. "บอนไซคืองานศิลปะที่ตกแต่งด้วยนํ้ามือมนุษย์."" คุณอย่าไปดูแบบตามต้นไม้จริงในธรรมชาติ ต้นไม้จริงในธรรมชาติมีสวยที่ไหน ไม่มี". ผมฟังแล้วผมรู้สึกเสียใจที่กรรมการเหล่านั้นเป็นผลผลิตจากรุ่นสู่รุ่น จากผลพลวงจากอิทธิพลของไม้1-2-3ที่สืบทอดกันมา และแถมยังไม่เคารพกฏเกณณ์ของธรรมชาติอีกด้วย. คําที่กรรมการท่านนั้นพูดว่า" ต้นไม้จริงในธรรมชาติมีสวยที่ไหน ไมมี". อย่างงี้แสดงว่าท่านกําลังนิยามความสวยของต้นไม้ในโลกนี้ขึ้นมาใหม่ เป็นโลกส่วนตัวของท่านเองที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน เพราะท่านบอกว่าต้นไม้ในธรรมชาติจริงไม่มีสวย ผมว่าท่านเหล่านั้นกําลังคิดผิดและเดินผิดทางนะครับ
ผมขอยกตัวอย่างคําพูดของ John Naka ศิลปินบอนไซระดับโลกที่ล่วงลับไปแล้วว่า

"The object is not to make the tree look like a bonsai, but to make the bonsai look like a tree." John Naka

นี่เป็นวลีอมตะและถูกต้องที่สุด เพราะหากกรรมการบ้านเรากําลังสร้างมาตราฐานความสวยขึ้นมาแข่งกับธรรมชาติ และประกาศให้โลกรู้ว่าในโลกนี้ไม่มีต้นไม้สวยเลย เราจะเห็นต้นบอนไซหน้าตาประหลาดที่ไม่เหมือนธรรมชาติมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะทุกวันนี้หน้าตาบอนไซของบ้านเราก็เริ่มแลดูประหลาดผิดจากบอนไซต่างประเทศเข้าไปทุกทีทุกที เราจะเห็นต้นมะสังหรือโมกมีซากสีขาว เราจะเห็นบอนไซมะขามเป็นทรง สามเหลี่ยมเหมือนต้ยไทร เมื่อมองดูในงานประกวดระยะไกลจะเห็นเป็นสามเหลี่ยมเหมือนกันหมด
ผมขอยํ้านะครับว่าไม้1-2-3ไม่ผิดนะครับแต่เป็นเพียงหนึ่งใน40สไตล์ของบอนไซมาตราฐานโลกครับ. โรงเรียนสอนบอนไซในต่างประเทศเขาจะพานัเรียนเข้าป่า3วันเพื่อศึกษาองค์ประกอบของต้นไม้อย่างละเอียด ขอยกตัวอย่างwww.sidiao.com ใครที่มีหนังสือของMr.Cheng Chang kung เขาจะศึกษาต้นสน juniper chinensis บนยอดเขาที่อยู่เหนือระดับนํ้าทะเลหลายพันฟุต ศึกษาการเกิดซาก อย่างละเอียด และแบ่งประเภทของซากเป็น3ยุค เป็นซากที่เกิดเมื่อ10ปีที่แล้วเป็นอย่างไร. ซากที่เกิดเมือ100ปีที่แล้วเป็นอย่างไร หรือซากที่เกิดเมื่อ1000ปีที่แล้วมันเกิดการเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีจึงมีสีที่แตกต่างออกไป หนังสือของเขาจะมีอยู่2เล่มและได้แปลเป็นภาษาอังกฤษเรียบร้อยแล้ว ผมเองได้มีโอกาสได้อ่านทบทวนอยู่บ่อยๆปัจจุบันMr.Cheng ดังมาก นักเล่นบอนไซแทบจะไม่มีใครที่ไม่รู้จัก ถ้าหากว่าMr.Cheng บอกว่าต้นไม้ในโลกไม่มีความสวย เราคงเห็นบอนไซของเขาเป็นทรงสามเหลี่ยม ผมคนนึงครับที่จะไม่เดินตามแนวทางของกรรมการชุดนี้ แต่จะพยายามช่วยเหลือและสนับสนุนทําทุกวิถีทางที่จะยกระดับวงการบอนไซให้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น