วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความเป็นมาของบอน

คำว่าบอนไซเป็นคำทับศัพท์ในภาษาญี่ปุ่น แปลเป็นไทยว่า ไม้แคระ มีตำนานความเป็นมาดังนี้ (ชาง ตันสกุล : 2534, 7-8) บอนไซ ได้ถูกพัฒนาจากการปลูกไม้ในกระถางของคนจีนโบราณ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ้น ราวปี พ.ศ. 808-963 โดยตู หยวน-หมิง จินตกวีผู้หันหลังให้กับราชสำนัก มุ่งสู่ชนบทริเริ่มปลูกต้นไม้ไม้ดอกลงในกระถาง เป็นผู้บุกเบิกบอนไซเป็นท่านแรกก็ว่าได้ต่อมาในราชวงศ์ถัง ต่อกับราชวงศ์ซ้อง ระหว่างปี พ.ศ. 1161-1823 ได้เรียกไม้ย่อส่วนที่ปลูกในกระถางว่าเผิน-วันต่อมาได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ซึ่งรู้จักกันในนามว่า เผิน ชิงหรือไม้กระถางประดับด้วยทิวทัศน์นั่นเองในช่วง คังซี ฮ่องเต้ ถึงสมัย เจีย-ชิง ฮ่องเต้ (ระหว่าง พ.ศ.2205-2264) มีผู้นิยมเล่นบอนไซกันมากในประเทศจีน ซึ่งในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ประเทศจีนรุ่งเรืองมาก ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างสงบสุข ต่างใช้เวลาว่างมาศึกษาการเล่นบอนไซเป็นงานอดิเรกกันมาก
ครั้นเริ่มต้นสมัยสาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงปี พ.ศ. 2443 การปลูกเลี้ยงและการตัดแต่งกิ่งบอนไซ เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในในกวางตุ้ง โดยดัดแปลงศิลปะการวาดด้วยแปรง มีรูปแบบและรูปทรงต้นไม้ย่อส่วน ประกอบด้วยลักษณะโบราณที่เต็มไปด้วยความสวยสดงดงามอย่างน่าทึ่ง ต่อมาวิธีการนี้รู้จักกันดีในชื่อว่า หลิงหนานพ่ายและได้ยกฐานะของการปลูกไม้กระถางขึ้นเป็นศิลปะแขนงหนึ่งทีเดียว แม้ว่าชื่อของศิลปะแขนงนี้จะถูกเรียกชื่อไปต่างๆ นา นา แต่ปัจจุบันนี้เรียกกันว่าเผิน-ใจหรือ บอนไซอันมีความหมายว่าต้นไม้โบราณย่อส่วนโดยปราศจากทิวทัศน์ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้แพร่กระจายเรื่องบอนไซ และมีความสามารถในการเล่นบอนไซได้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก คือ ประเทศญี่ปุ่น โดย จู-ซุ่น-สุ่ย ข้าราชการจีนผู้หนึ่งที่เข้าไปลี้ภัยในญี่ปุ่น ได้นำตำราการเล่นบอนไซไปด้วย (ระหว่าง พ.ศ. 1823-1911) ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น