วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ไม้ตลก

ไม้ตลก

            ไม้ตลกเป็นไม้ดัดที่ตั้งใจให้ผู้พบเห็นแปลกตาทำนองตลกขบขัน โดยจะมีทั้งที่เป็นไม้ตลกหัว คือลำต้นส่วนบนสุดจะเป็นก้อนกลุ่มยิ่งใหญ่โตเท่าไหร่ยิ่งดี ลำต้นส่วนอื่นเป็นกระปุ่มกระป่ำ มีกิ่งมีช่อน้อย ส่วนไม้ตลกราก จะมีรากลอยหรือรากบางส่วนโผล่พื้นดิน แต่ถ้าจะให้สวยงามจริงจะต้องมีทั้งตลกหัวและตลกรากอยู่ในต้นเดียวกัน และทำช่อกิ่งเพียงเล็กน้อยจึงจะดูสวยงาม

ไม้เอนชาย ลำต้นเอนออกไปทางด้านข้างจะโผล่ขึ้นตามห...


ไม้เอนชาย ลำต้นเอนออกไปทางด้านข้างจะโผล่ขึ้นตามหน้าผา ตามตลิ่ง โดยมีรากเกาะด้านข้าง

ไม้ฉาก ลักษณะทรงต้นจะตรงข฿นมาดัดหักเป็นรูปมุมฉากเ...


ไม้ฉาก ลักษณะทรงต้นจะตรงข฿นมาดัดหักเป็นรูปมุมฉากเช่นเดียวกับลำต้น ส่วนปลายกิ่งจะปล่อยให้เป็นพุ่มใบนิยมทำพุ่มใบ9ช่อ ไม้ดัดฉากนี้จะทำเป็นต้นเดี่ยวหรือต้นคู่ในลักษระรูปทรงแบนและฉากบังตาก็ได้
ไม้ฉากเป็นไม้ดัดที่ดัดมากที่สุด ผู้ที่จะดัดจะต้องเป็นผู้ที่มีฝีมือ และความวิริยะและความอดทนสูง
มากจึงจะทำได้

ไม้ตลก ไม้ตลกเป็นไม้ดัดที่ตั้งใจให้ผู้พบเห็นแปลก


ไม้ตลก
ไม้ตลกเป็นไม้ดัดที่ตั้งใจให้ผู้พบเห็นแปลกตาทำนองตลกขบขัน โดยจะมีทั้งที่เป็นไม้ตลกหัว คือลำต้นส่วนบนสุดจะเป็นก้อนกลุ่มยิ่งใหญ่โตเท่าไหร่ยิ่งดี ลำต้นส่วนอื่นเป็นกระปุ่มกระป่ำ มีกิ่งมีช่อน้อย ส่วนไม้ตลกราก จะมีรากลอยหรือรากบางส่วนโผล่พื้นดิน แต่ถ้าจะให้สวยงามจริงจะต้องมีทั้งตลกหัวและตลกรากอยู่ในต้นเดียวกัน และทำช่อกิ่งเพียงเล็กน้อยจึงจะดูสวยงาม

ไม้หกเหียน ไม้หกเหียนเป็นไม้ที่ดัดตัดแต่งต้นและก...



ไม้หกเหียน
ไม้หกเหียนเป็นไม้ที่ดัดตัดแต่งต้นและกิ่งให้ย้อนกลับลงมาทางโคนต้นก่อน แล้วจึงดัดกิ่งให้โค้งงอขึ้นไปรอบๆ ต้น ตามตำรากำหนดให้ทำกิ่งและช่อพุ่ม 11 ช่อ ไม้หกเหียนเป็นไม้ดัดอีกประเภทหนึ่งที่ดักยาก ต้องใช้ฝีมือและความวิริยะอุตสาหะมากจึงจะทำได้

ไม้ป่าข้อม ไม้ป่าข้อม ทรงต้นจะตรงขึ้นไปถึงย...

 


ไม้ป่าข้อม
ไม้ป่าข้อม ทรงต้นจะตรงขึ้นไปถึงยอด ตรงโคนมีปุ่มรอยตัด ดัดแต่งกิ่งให้วนเวียนรอบๆ ต้นขึ้นไป กำหนดให้ทำ 3 กิ่งๆ ละ 3 ช่อ รวมเป็น 9 ช่อ และต้องจัดทำกิ่งและช่อให้สม่ำเสมอ และจะทำตอแอบ (ต้นไม้เล็กที่ขึ้นตรงโคนต้น) หรือไม่ก็ได้

ไม้เขน ไม้เขนจะแตกต่างจากไม้ดัดชนิดอื่นตรงท...


 


ไม้ญี่ปุ่น
ไม้ญี่ปุ่น เป็นไม้ดัดที่คล้ายกับไม้แคระทรงญี่ปุ่น และมีวิธีการดัดก็คล้ายๆ กัน คือทำโคนต้นใหญ่ และปลายต้นเรียว ลำต้นตรงหรือเอนเล็กน้อย กิ่งและช่อพุ่มดัดแต่งให้กระจายตามรูปทรงไม้ใหญ่ในธรรมชาติ ไม้ดัดชนิดนี้จะปลูกติดกัน 2 ต้น ให้มีขนาดลดหลั่นกัน หรือจะทำเฉพาะต้นเดี่ยวก็ได้

ไม้ดัดไม้แคระ


 


ไม้ญี่ปุ่น
ไม้ญี่ปุ่น เป็นไม้ดัดที่คล้ายกับไม้แคระทรงญี่ปุ่น และมีวิธีการดัดก็คล้ายๆ กัน คือทำโคนต้นใหญ่ และปลายต้นเรียว ลำต้นตรงหรือเอนเล็กน้อย กิ่งและช่อพุ่มดัดแต่งให้กระจายตามรูปทรงไม้ใหญ่ในธรรมชาติ ไม้ดัดชนิดนี้จะปลูกติดกัน 2 ต้น ให้มีขนาดลดหลั่นกัน หรือจะทำเฉพาะต้นเดี่ยวก็ได้

ไม้ดัดไม้แคระ


ไม้เอนชาย หรือเอนชายมอ
ไม้เอนชายลำต้นขึ้นตรงแล้วเอนออกไปด้านข้าง ดูเหมือนต้นไม้ที่ขึ้นตามหน้าผา หรือริมตลิ่ง โดยมีรากยึดเกาะด้านข้าง ส่วนมากมักเป็นหุ่นไม้จากป่า แล้วนำมาดัดแต่งกิ่งและช่อใหม่ ไม้เอนชายนี้เข้าใจว่าเดิมนิยมปลูกเพื่อข่มเขาหรือล้อรูปเขา ด้านหลังเขามอ

ไม้ดัดไม้แคระ

 


ไม้กำมะลอ
ไม้กำมะลอจะมีลักษณะทรงต้นตรงขึ้นไป จะมีกิ่งที่โคนหรือไม่มีก็ได้ แต่ต้องดัดส่วนยอดให้หันเหหมุนเวียนจากยอดวกวนชี้ลงล่างไม่ว่าจะเป็นลักษณะใด หรือยักเยื้องพิสดารเท่าไร ก็จะยิ่งสมชื่อไม้กำมะลอ คือไม่ใช่ของจริง จะมีกิ่งและช่อมากน้อยเท่าไรก็ไม่กำหนด เพียงแต่ให้ดูเข้ารูปทรงสวยงามก็พอ

รูปแบบการจัดสวนที่สวยงาม

การจัดสวนมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน พอจะแบ่งลักษณะการศึกษาเป็น 2 ส่วน คือ
1. การจัดสวนในต่างประเทศ                     
                มนุษย์มีความผูกพัน อยู่กับธรรมชาติมาตั้งแต่กำเนิด โดยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่เก่าแก่ที่สุดได้ บ่งบอกถึงความรักธรรมชาติของบรรพบุรุษของมนุษยชาติ  ดังจะเห็นได้ว่ามีสวนลอยแห่งกรุงบาบิโลเนียซึ่งพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ (Nebuchadnezar) ทรงโปรดให้สร้างขึ้น ปลูกประดับด้วยไม้ดอกอย่างสวยงามบนปราสาทแต่ละชั้น เพื่อให้พระราชินีทรงผ่อนคลายความเหงา นับเป็นสวนลอย ที่ได้รับการยกย่องว่ามีความสวยงามมาก  ถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกชิ้นหนึ่งในยุคโบราณ และต่อมาการสร้างสวนลอยแบบนี้ได้แพร่หลายไปยังอาณาจักรกรีกและโรมัน                             
     ภาพที่ 1  สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลเนีย       ที่มา : การจัดสวน ของพรรณเพ็ญ ฉายปรีชา           
ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่สวนพักผ่อนได้รับการส่งเสริมโดยมีหลักการว่าสวนพระพุทธศาสนาจะต้องไม่อยู่ใกล้เมืองหรืออยู่ไกล เมืองเกินไปมีทางเข้าทางออกสวนสะดวกเพื่อที่จะให้พุทธศาสนิกชนเข้าไปเคารพสักการะบูชาทำพิธีทางศาสนาได้ง่ายอีกทั้งไม่วุ่นวายเมื่อมีเสียงรบกวน ในยามกลางวันและเงียบสงัดในยามกลางคืน เหมาะแก่การหาวิเวกไตร่ตรองธรรม สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชของอินเดียได้ส่งเสริมให้มีการสร้างสวนพักผ่อนในเมือง  ตลอดจนปลูกไม้ร่มเงาประดับถนน กษัตริย์ของอินเดียให้การสนับสนุนการสร้างสวนพักผ่อนมาโดยตลอด  นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 ไปจนถึงศตวรรษที่ 14 สวนตกแต่งจึงเปลี่ยนรูปแบบไปบ้างเพราะเป็นสวนในยุคของกษัตริย์เชื้อสายชาวมองโกล สวนมองโกลมีลักษณะพิเศษคือ จะเลือกสถานที่ใกล้แม่น้ำ หรือเนินเขา หรือในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำนิ่ง  สร้างสวนพักผ่อนมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลูกไม้ดอก ไม้พุ่มและไม้ร่มเงาขนาดใหญ่ พืชที่ปลูกส่วนมากดอกจะมีกลิ่นหอม เช่น กุหลาบ มะลิ พร้อมทั้งมีกำแพงล้อมรอบ
    ภาพที่ 2 สวนอินเดีย ที่มา : การจัดสวน ของ พรรณเพ็ญ ฉายปรีชา
สวนฟาโรห์ในอียิปต์เป็นสวนพักผ่อนที่รวบรวมพืชพรรณต่าง ๆ มากมายหลายชนิด  กษัตริย์ Ramses ที่ 3 ได้สั่งสร้างสวนศักดิ์สิทธิ์เพื่อใช้เป็นสถานที่บวงสรวงเทพยดาขึ้นถึง 514  แห่ง ขณะที่กรีกสร้างสวนพักผ่อนเป็นขั้น ๆ แบบขั้นบันได  โรมันได้สร้างสวนปลูกพืชตกแต่งเป็นรูปร่างเลียนแบบรูปสิ่งก่อสร้างและรูปสัตว์ ปลูกพืชใส่ภาชนะขนาดใหญ่ ขุดสระประดิษฐ์   มีน้ำพุกลางสระ ตลอดจนปลูกพืชเป็นกลุ่ม เช่น สน มาเปิ้ล โอค ปาล์มและไม้พุ่มอีกมากชนิดด้วยการสร้างเป็นทางคดเคี้ยววกวนไปมา ชวนให้เพลิดเพลินเจริญใจ  สวนอาหรับมีสระน้ำ น้ำพุ ไม้ผล ไม้พุ่มชนิดที่ยามออกดอกส่งกลิ่นหอม สร้างในบริเวณโอเอซีส  สวนอาหรับมีอิทธิพลแพร่เข้าไปในยุโรป เช่น สวน Alhambra ที่มีชื่อเสียงในเมือง Granada ประเทศสเปน  ซึ่งสวนดังกล่าวยังเป็นต้นแบบ ที่นำไปสร้างในรัฐแคร์ลิฟอร์เนีย และรัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกาในช่วงศตวรรษที่ 14-16 ซึ่งเป็นสมัยที่มีการฟื้นฟูศิลปวิทยาในประเทศอิตาลี ได้มีสวนตกแต่งแบบใหม่ขึ้น ซึ่งประกอบด้วย กำแพงทางเดิน สระน้ำและสายน้ำ แต่พืชมิได้มีบทบาทเด่นในสวนลักษณะนี้ รูปแบบสวนพักผ่อนประเภทนี้ได้แพร่ไปในประเทศฝรั่งเศสและออสเตรเลีย   ทำให้เกิดสวนที่มีชื่อเสียงในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
   ภาพที่ 3 สวนโรมัน (ด้านซ้าย) ที่มา : การจัดสวน ของพรรณเพ็ญ ฉายปรีชา
          ในพระราชวังแวร์ซายส์ ก่อให้เกิดต้นแบบสวนพักผ่อนที่จัดเป็นสัดส่วน หรือสวนประดิษฐ์ (Formal garden) ขึ้น
สวนอังกฤษมีพืชพรรณหลายประเภทได้แก่ ผัก ไม้ผล ไม้ดอก ไม้เลื้อยและไม้เกาะกำแพง ซึ่งแตกต่างไปจากสวนพักผ่อนได้สัดส่วนในยุโรป
ภาพที่ 4 สวนประดิษฐ์ (ด้านล่าง) ที่มา : การจัดสวน ของพรรณเพ็ญ ฉายปรีชา
                สวนจีนและสวนญี่ปุ่นเริ่มสร้างกันมานานก่อนคริสต์ศักราช  สวนเหล่านี้แสดงถึงความรักธรรมชาติของมนุษย์ในถิ่นแถบนี้ สวนพักผ่อนในญี่ปุ่นจะเป็นภูเขาจำลองและสายน้ำ แต่จัดสร้างในเนื้อที่เล็ก ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นสวนพักผ่อนส่วนบุคคลหรือในวัด
                ในยุคปัจจุบัน   ศิลปะการตกแต่งสถานที่ให้มีวิวทิวทัศน์สวยงาม  มีบทบาทที่สำคัญต่อการ พัฒนาสถานที่พักอาศัย สถานที่ราชการ เมืองและนคร สำหรับการตกแต่งสถานที่ (Landscape architecture)  หมายถึงการพัฒนา การวางแผน และการจัดระเบียบพืชพรรณบนพื้นที่ส่วนบุคคลหรือพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมให้เกิดความสวยงามสูงส่งด้วยรสนิยม เต็มไปด้วยศิลปะ เสริมสร้างความรื่นรมย์ในยามปฏิบัติงานและสนุกเพลิดเพลินในยามพักผ่อน   การตกแต่งสถานที่อาจหมายรวมถึงการจัดสวนพักผ่อน (Landscapegardening)                                                                 
  ภาพ 6 สวนจีน ที่มา:การจัดสวน ของพรรณเพ็ญ ฉายปรีชา
 ภาพที่ 5 สวนญี่ปุ่น ที่มา : การจัดสวน ของพรรณเพ็ญ ฉายปรีชา
2. การจัดสวนในประเทศไทย                     จากบันทึกเรื่องราวสมัยสุโขทัยพระเจ้ารามคำแหงมหาราช ได้ทรงปลูกป่าไม้ตาลและทรงโปรดให้ปลูกป่าหมาก ป่าพลู ป่าพร้าว ฯลฯ หรือเรียกว่า สวนผลหมากรากไม้ ในยุคนั้นพืชหลายชนิดที่ได้ ตกทอดพืชพันธุ์ถึงปัจจุบัน คือหมากสง ลาน พลู มะพร้าว มะม่วง มะขามและตาลโตนด
                ต่อมาถึงสมัยอยุธยา  ครั้งรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  ยุคสร้างราชธานีลพบุรี ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส ได้ส่งแบบแปลนสวนพระราชวังแวร์ซายส์ มาเป็นแบบในการวางผังการจัดสวนที่พระราชวังลพบุรี พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ ซึ่งพระองค์ได้ทรงมอบให้เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีชาวมุสลิมเป็นผู้ดำเนินการปลูกสร้าง เรื่องราวนี้พบจากบันทึกจดหมายเหตุของสุลต่านแห่งอาหรับ ที่มาเจริญสัมพันธไมตรีในยุคนั้น    สมัยอยุธยานอกจากได้รับอิทธิพลจากยุโรปแล้ว ก็ยังมีอิทธิพลจีนและญี่ปุ่นอีกด้วย   สำหรับอิทธิพลจีนจะเห็นได้จากถ้วยโถโอชาม เจดีย์ เขามอ (ถะมอ) ต้นไม้ที่ใช้แต่งในยุคนั้นส่วนใหญ่ก็จะเป็นไม้ดัด ไม้แคระ และไม้ตัดแต่งพุ่ม เช่น พวกตะโก ข่อย  แก้ว มะขาม ไทร  สำหรับอิทธิพลญี่ปุ่นที่เข้ามาในยุคนั้น ไม่ได้เป็นลักษณะสวนแต่เป็นอุปกรณ์ตกแต่งสวน เช่น ตะเกียงหิน สะพาน ซุ้มประตูแบบญี่ปุ่น เป็นต้น โดยยามาด้า หรือออกญาเสนาภิมุข เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการและท่านได้จัดไว้เองด้วย
                ในสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 เป็นต้นมา  ได้รับอิทธิพลจากจีนต่อเนื่องมาจากสมัยอยุธยา ลักษณะเป็นสวนภูเขา (สวนภูเขาจำลอง) ซึ่งเรียกกันว่า เขามอ หรือ ถะมอ เป็นการนำหินมาจัดประกอบเป็นภูเขา อาจมีน้ำตก บ่อน้ำ ลำธาร ประกอบด้วยสะพาน เก๋งจีน ตุ๊กตาหินและต้นไม้ ต้นไม้ส่วนใหญ่ก็จะใช้ไม้ดัดเช่น ตะโก ข่อย มะสัง มะขามแก้ว  ไม้ประดับในยุคนั้นยังมีไม่มากนัก เช่น บอนสี โกสน และหน้าวัว เป็นต้น ในรัชกาลที่ 3  ลักษณะสวนภูเขาหรือเขามอจะใหญ่โตกว่าสมัยรัชกาลที่ 2 เพราะในสมัยนั้นมีการขยายพระราชฐานโดยสร้างพระตำหนักเพิ่มขึ้นอีก มีการรื้อและปรับปรุงสวนเดิมตลอดจนสร้างสวนขึ้นใหม่ ตัวอย่างและร่องรอยการจัดสวนในต้นสมัยรัตนโกสินทร์ เราพอจะหาดูได้ในบริเวณพระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว วัดโพธิ์ วัดสุทัศน์ วัดโปรดเกศเชษฐาราม วัดไพชยนต์พลเสพย์ วัดจอมทองหรือวัดราชโอรสา วัดเฉลิมพระเกียรติ์  วัดหนังบางขุนเทียนในอดีตมีไม้ดัดมากที่สุดวัดหนึ่ง  ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีวัดพระปฐมเจดีย์ที่นครปฐม นำไม้ดัดมาปลูกลงดินแทนการปลูกในกระถาง ในสมัยรัชกาลที่ 5 การจัดสวนได้รับอิทธิพลมาจากประเทศต่าง ๆ มากมาย  ทั้งจีน อินเดีย ลังกา และยุโรป ในต้นรัชกาลมีการบูรณะวัดพระแก้ว ได้นำกล้วยพัดจากลังกามาปลูก และพระราชวังบางปะอิน ที่สร้างสวนและอาคารมีทั้งอิทธิพลจีน อินเดียและยุโรป   ที่สวนอัมพรจากรูปลักษณะของกระถางต้นไม้ กระถางบัว รูปปั้น  ก็เป็นอิทธิพล ยุโรปเช่นกัน
                เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่เราหารูปแบบสวนดั้งเดิมของไทยเป็นตัวอย่างให้ชนรุ่นหลังในปัจจุบันดูกันได้น้อยมาก เพราะส่วนใหญ่เสียหายหักพังไปหมด บางทีก็ถูกรื้อถอนเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไป ถึงแม้สวนในปัจจุบันของเราที่มีจัดกันมากมาย ก็ยังไม่มีรูปแบบการจัดสวนที่บ่งบอกลักษณะได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทย เหมือนเช่นสวนจีน ญี่ปุ่น อังกฤษหรือฝรั่งเศส ที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์เฉพาะสามารถสื่อความหมายได้ว่าเป็นของชาติไหน  
                คนในสมัยเมื่อ 50-100 ปีที่แล้ว นิยมสร้างบ้านใต้ถุนสูง เนื่องจากน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ ต่อมาในสมัยหลังมีบ้านทรงปั้นหยาและอื่น ๆ ที่ได้รับอิทธิพลมาจากยุโรป หรือตะวันตก ใต้ถุนจะลดต่ำลงมากและถ้าเป็นบ้านผู้มีฐานะดีก็มักจะเป็นผนังก่ออิฐถือปูนประกอบผนังไม้บ้าง แต่ช่วงล่างหรือฐานรากอาคารจะเป็นปูนและนิยมก่อปิดมิให้เห็นส่วนที่เป็นใต้ถุน แต่เปิดช่องลมให้ระบายอากาศออกได้ การจัดแต่งบริเวณภายนอกบ้านก็มักจะปลูกไม้ผลหลังบ้าน เช่น มะม่วง  ขนุน ชมพู่ กระท้อน สาเก ละมุดและอื่น ๆ นอกจากไม้ผลแล้วก็มีพืชสวนครัวซึ่งนิยมปลูกไว้หลังบ้าน   ส่วนหน้าบ้านจะเป็นสวนพักผ่อนและจัดแต่งให้สวยงาม ระเบียงบ้านหรือชานเรือนก็นิยมจัดแต่งเช่นกัน   ต้นไม้ส่วนใหญ่ที่ใช้มักจะเป็นไม้ดัดซึ่งนิยมปลูกในกระถาง เพราะเหมาะกับสภาพบ้านเมืองเราที่น้ำท่วมเสมอ  ไม้ดอกนิยมใช้ไม้ดอกที่ส่งกลิ่นหอมและไม้ใบสีต่าง ๆ   การปลูกต้นไม้และการจัดแต่งก็เพียงปลูกให้มีระเบียบ  ดูแลให้เรียบร้อยสวยงาม ตามรสนิยมและความชอบส่วนตัว  ยังไม่มีรูปแบบที่ฉูดฉาดสะดุดตาอย่างในปัจจุบัน นั่นเป็นสภาพการจัดแต่งโดยทั่ว ๆ  ไปของชาวบ้าน ส่วนผู้มียศฐาบรรดาศักดิ์และฐานะร่ำรวยก็จะมีทุนทรัพย์ที่จะจัดหาพันธุ์ไม้ที่สวยงามและแปลกใหม่มาประดับนอกเหนือจากต้นไม้พื้นบ้าน ส่วนใหญ่ได้แนวคิดมาจากต่างประเทศ    ลักษณะการจัดบริเวณและสวนในระยะนั้นก็มักจะให้ตัวอาคารอยู่ชิดเนื้อที่ด้านหน้าบ้านมาก  มีถนนให้รถแล่นเข้าไปจากประตูรั้วหน้าบ้าน ผ่านเป็นวงเวียนมีลานหญ้าหรือสนามตรงกลางโดยถนนจะเลี้ยวโค้งไปจอดรถหน้าตึกหรือตัวบ้านได้เลย ก่อนจะมาเก็บในโรงรถ 
ภาพที่ 7  สวนสมัยเมื่อ 50-100 ปีที่แล้ว  ที่มา: การจัดสวน ของพรรณเพ็ญ  ฉายปรีชา
แต่ถ้าเนื้อที่แคบลงหน่อยก็จะทำถนนรถเข้าด้านข้าง และเลี้ยวโค้งไปจอดหน้าตึกได้ก่อนเข้าไปเก็บในโรงรถเช่นกัน  ต้นไม้ที่นิยมปลูกส่วนใหญ่นอกจากไม้ผลแล้ว ก็จะมีไม้ประดับประเภทปาล์ม เช่น หมากเขียว หมากแดง เต่าร้าง หมากค่อมหรือหมากนวล เป็นต้น ไม้ดอกหอม และไม้ใบสีก็นิยมกันมาก ไม้ดอกนิยมปลูกตามแนวถนน  ในยุคนั้นก็ยังมีไม่กี่ประเภทเช่น เข็ม บานชื่น  ดาวเรือง  ดาวกระจาย  แวววิเชียร  เบญจรงค์  แสยก  ลิ้นมังกร  ขาไก่หรือชาดัดเป็นต้น ไม้ดัดและไม้ประดับส่วนใหญ่นิยมปลูกในกระถางตั้งโชว์ตามแนวถนน มุมตึกหรือลานบ้านและชานเรือน กระถางที่นิยมใช้อาจเป็นกระถางลายคราม   ปูนปั้น หรือโอ่งมังกรที่มีลวดลายสวยงาม ส่วนที่เป็นลักษณะคล้ายวงเวียน อาจเป็นวงกลมหรือวงรี มักมีสนาม ประดับด้วยรูปปั้นหรือบ่อน้ำพุ ปัจจุบันอาจหาดูได้จากแถวถนนสาธร สุรวงศ์ สีลมหรือบางลำภู
                ต่อมา ได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงรูปแบบสวนของบ้านเรา โดยกลุ่มสถาปนิกและนักออกแบบ ซึ่งประมาณ 50 ปีที่แล้วมีอยู่ไม่ถึง 10 คน ได้เล็งเห็นว่าการแต่งสวน  ควรจะมีบทบาทและความสำคัญต่อตัวอาคารมากกว่านี้  ควรจะมีความเหมาะสมและเสริมสร้างชีวิตชีวาให้กับตัวอาคาร การพัฒนาเริ่มต้นจากการปรับปรุงรูปแบบสวนเดิมบางส่วน โดยนำเอาวัสดุอื่น ๆ มาใช้ประกอบ  เช่น หิน  กรวด  ขอนไม้ นำมาจัดเป็นองค์ประกอบร่วมกันต้นไม้และหญ้าที่มีอยู่เดิม ทำให้เกิดความสวยงามและน่าสนใจยิ่งขึ้น สวนในลักษณะนั้นเรียกว่าสวนหย่อม
ภาพที่ 8  สวนถาด  ที่มา: การจัดสวน ของพรรณเพ็ญ  ฉายปรีชา ซึ่งต่อมาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน และยังได้จัดให้มีการประกวดจัดสวนขึ้น ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นสวนหิน สวน  น้ำ สวนประกอบน้ำ สวนป่า สวนทราย สวนกรวดและอื่น ๆ ตามสมัยนิยม

วัสดุและอุปกรณ์ในการทำถั่วงอก

เริ่มแรกก็เตรียมวัสดุดังนี้
1.เข่ง 1.ใบ
2.ขี้เลี่อย(ต้องเป็นขี้เลี่อยไม้ยางเท่านั้นเพราะถั่วงอกจะเติบโตดีถ้าขี้เลี่อยไม้ชนิดอื่นถั่วงอกจะไม่ขึ้น) 1 กิโลกรัม
3.ถั่วเขียว 2 กิโลกรัม
4.กระดาษหนังสือพิมพ์
5.ใบตอง 3 แผ่น(รองก้นเข่ง)
6.กะละมัง 1 ใบ

วิธีการเพราะถั่วงอก

วิธีการเพาะ
1.เตรียมเข่งเรียบร้อยแล้วใช้ใบตองรองก้นเข่งและใช้กระดาษหนังสือพิมพ์คลุมเข่งให้รอบๆ
2.นำขี้เลี่อยใส่ในกะละมังแล้วใส่ถั่วเขียวลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน
3.แล้วเทลงไปในเข่งที่เตรียมไว้
4.หลังจากนั้นก็ทำการรดน้ำในเข่งให้ชุ่มแล้วทำการคลุมเข่งด้วยกระสอบป่านเพื่อรักษาความชื้นให้ถั่วงอกนั้นมีสีเหลืองสวย

ขั่นตอนในการรดน้ำ

ขั้นตอนการรดน้ำ*การรดน้ำ คืนที่1 รดน้ำ 1 กระถางคืนที่2 รดน้ำ 2 กระถางคืนที่3 รดน้ำ 2 กระถาง หลังจากนั้นในเช้าวันที่ 4 ถั่วงอกก็จะงอกมาเต็มเข่งสามารถตัดขายได้เลยค่ะ

วิธีที่ 2 ในการเพราะถั่วงอกตัดราก

วัสดุและอุปกรณ์ในการเพระถั่วงอก
1. มุ้งไนล้อนตัดเป็นรูปวงกลมขนาดพอดีกันภาชนะสำหรับ
เพราะถั่วงอก 5 ผืน
2.กระสอบป่านตัดดังข้อ 1 . 5ผืน
3.หม้อนึ่งขนมเบอร์32
                                                                                                         

วิธีการทำขั้นตอนที่ 1

                                                 1นำเมล็ดถั่วเขียวลงในกะละมังที่เตรียมไว้

วิธีที่ 2

                     1ต้มน้ำให้เดือดแล้วนำมาเทใส่ถั่วเขียวที่เตรียมไว้นานประมาณ 8 ชั่วโมง
 

ถั่วงอก

                                                                          การคัดเลือกถั่วงอกที่ดีและมีคุณภาพ



                                                                             การคัดเลือกถั่วงอกที่ดีและมีคุณภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ไม้ตลกมีลักษณะคือ ลำต้น ส่วนบนสุดจะเป็นก้อนกลุ่มยิ่งไหญ่ดตเท่าไรยิ่งดี ลำต้นส่วนอื่นเป็นกระปุ่มกระป่ำมีกิ่งมีช่อน้อยส่วน
ตามหน้าผา หรือริมตลิ่ง โดยมีรากยึดเกาะด้านข้าง ส่วนมากมักเป็นหุ่นไม้จากป่า แล้วนำมาดัดแต่งกิ่งและช่อใหม่ ไม้เอนชายนี้เข้าใจว่าเดิมนิยมปลูกเพื่อข่มเขาหรือล้อรูปเขา ด้านหลังเขามอ
ไม้ป่าข้อม ทรงต้นจะตรงขึ้นไปถึงยอด ตรงโคนมีปุ่มรอยตัด ดัดแต่งกิ่งให้วนเวียนรอบๆ ต้นขึ้นไป กำหนดให้ทำ 3 กิ่งๆ ละ 3 ช่อ รวมเป็น 9 ช่อ และต้องจัดทำกิ่งและช่อให้สม่ำเสมอ และจะทำตอแอบ (ต้นไม้เล็กที่ขึ้นตรงโคนต้น) หรือไม่ก็ได้
ไม้กำมะลอจะมีลักษณะทรงต้นตรงขึ้นไป จะมีกิ่งที่โคนหรือไม่มีก็ได้ แต่ต้องดัดส่วนยอดให้หันเหหมุนเวียนจากยอดวกวนชี้ลงล่างไม่ว่าจะเป็นลักษณะใด หรือยักเยื้องพิสดารเท่าไร ก็จะยิ่งสมชื่อไม้กำมะลอ คือไม่ใช่ของจริง จะมีกิ่งและช่อมากน้อยเท่าไรก็ไม่กำหนด เพียงแต่ให้ดูเข้ารูปทรงสวยงามก็พอ
ไม้ญี่ปุ่น เป็นไม้ดัดที่คล้ายกับไม้แคระทรงญี่ปุ่น และมีวิธีการดัดก็คล้ายๆ กัน คือทำโคนต้นใหญ่ และปลายต้นเรียว ลำต้นตรงหรือเอนเล็กน้อย กิ่งและช่อพุ่มดัดแต่งให้กระจายตามรูปทรงไม้ใหญ่ในธรรมชาติ ไม้ดัดชนิดนี้จะปลูกติดกัน 2 ต้น ให้มีขนาดลดหลั่นกัน หรือจะทำเฉพาะต้นเดี่ยวก็ได้
ไม้หกเหียนเป็นไม้ที่ดัดตัดแต่งต้นและกิ่งให้ย้อนกลับลงมาทางโคนต้นก่อน แล้วจึงดัดกิ่งให้โค้งงอขึ้นไปรอบๆ ต้น ตามตำรากำหนดให้ทำกิ่งและช่อพุ่ม 11 ช่อ ไม้หกเหียนเป็นไม้ดัดอีกประเภทหนึ่งที่ดักยาก ต้องใช้ฝีมือและความวิริยะอุตสาหะมากจึงจะทำได้
ไม้ฉาก ลักษณะทั้งทรงต้นและกิ่งดัดแต่งให้เป็นรูปมุมฉาก ส่วนปลายกิ่งก็จะตัดแต่งให้เป็นพุ่มใบ โดยนิยมทำเป็น 9 ช่อไม้ฉากเป็นไม้ดัดที่ดัดยากที่สุด ผู้ที่ดัดจะต้องเป็นผู้มีฝีมือและมีความวิริยะ อดทนสูงมากจึงจะทำได้
ไม้ขบวน มีลักษณะทรงต้นตรงหรือคดเล็กน้อย เป็นไม้ดัดที่มีทรงต้นต่ำ ดัดกิ่งให้วกเวียนขึ้นไปวนสุดยอด แต่ไม่กำหนดรูปทรงแน่นอนจะดัดพลิกแพลงอย่างไรก็ได้ แต่จะต้องจัดช่อพุ่มใบให้จังหวะช่องไปดูพอเหมาะพอดีและแต่งให้เรียบร้อย โดยทั่วไปนิยมทำเป็น 9 ช่อ เนื่องจากไม่มีการกำหนดรูปทรงที่แน่นอน การดัดแต่งช่อพุ่มทำได้ง่ายกว่าไม้ดัดชนิดอื่นๆ จึงได้รับความนิยมมากกว่าไม้ดัดชนิดอื่นๆ
ในที่นี้จะอธิบายถึงการเลี้ยงและดัดรายละเอียดให้ได้รูปทรง สำหรับต้นไทรจีนต้นนี้เป็นไม้ที่นำเข้ามาจากประเทศจีนมีโคนต้นที่สวยรากออกรอบต้น แต่รายละเอียดของกิ่งไม่เหมาะสม มีกิ่งที่ยาวเกินไปไม่ได้สัดส่วน ดังนั้นจึงตัดให้สั้นลงเพื่อเลี้ยงรายละเอียดใหม่ ให้มีความสมดุลเหมาะสมกับลำต้นและต้องการเลี้ยงให้จบเร็ว ในระยะเริ่มต้น ควรเลี้ยงในกระถางที่ใหญ่ก่อน เพื่อจะให้ไม้ที่จะเลี้ยงได้ดินมาก ๆ ดินที่ใช้ปลูกควรร่วนซุย สำหรับต้นไทรนี้จะเป็นดินขุยไผ่ก็ได้ ดินควรเป็นเม็ดหากดินละเอียดจะจับตัวเป็นเนื้อเดียวกันเร็วกว่าดินที่เป็นเม็ด ดินควรมีส่วนผสมของดินเผาหรือกระถางที่ทุบให้เป็นเม็ด เพื่อจะช่วยให้ดินไม่จับตัวเป็นเนื้อเดียวกันและยังดูดซับน้ำไว้ ช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้นตลอดเวลา และควรตัดตุ้มไม้ให้บางจนถึงราก แต่ต้องมีรากพอสมควรหากในอนาคตเราเปลี่ยนใส่กระถางบางจะได้ไม่มีปัญหา เพราะถ้าไม่ตัดให้บางไว้แต่แรกแล้วไปตัดตุ้มให้บางในภายหลังอาจทำให้ตายได้ และไม่ควรใส่ปุ๋ยสำหรับไม้ปลูกใหม่
ไม้ฉาก ลักษณะทรงต้นจะตรงขึ้นมาดัดหักเป็นรูปมุมฉากเช่นเดียวกับลำต้น ส่วนปลายกิ่งก็ไปให้เป็นพุ่มใบนิยมทำพุ่มใบ 9 ช่อไม้ดัดฉากนี้ จะทำเป็นต้นเดี่ยวหรือต้นคู่ในลักษณะรูปทรงแบนและฉากบังตาก็ได้
ไม้ฉาก ลักษณะทรงต้นจะต้องขึ้นดัดหักเป็นรูปมุมฉากกิ่งก็ดัดแต่งให้เป็นรูปมุมฉากเช่นเดียวกับลำต้นส่วนปลายกิ่งก็ปล่อยให้เป้นพุ่มใบ นิยมทำพุ่มใบ 9 ช่อไม้ดัดฉากนี้จะทำเป็นต้นเดี่ยวหรืต้นคู่ในลักษณะรูปทรงแบนไม้ฉากเป็นไม้ดัดมากที่สุดผู้ที่จะดัดต้องมีฝีมือและมีความวิริยะความอดทนสูงมากจึงจะทำได้
ไม้ญี่ปุ่น เป็นไม้ดัดที่คล้ายกับไม้แคระทรงญี่ปุ่น และมีวิธีการดัดก็คล้ายๆ กัน คือทำโคนต้นใหญ่ และปลายต้นเรียว ลำต้นตรงหรือเอนเล็กน้อย กิ่งและช่อพุ่มดัดแต่งให้กระจาย

ไม้ดัดไม้แคระ

          ก่อนที่จะคุยกันต่อไปในเรื่องต่างๆ ของไม้แคระหรือบอนไซ เรามาทำความรู้จักกับไม้ประเภทนี้กันจริงๆ จังๆ ให้มีความเข้าใจตรงกันเสียก่อนดีกว่า
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในส่วนของบทนำ คำว่าบอนไซเป็นภาษาญี่ปุ่น หมายถึง "ต้นไม้แคระ" ซึ่งก็หมายถึงว่า เป็นต้นไม้ที่ปกติจะมีขนาดสูงใหญ่ท่วมหัว เช่นตะโก มะขามเทศ ข่อย และอื่นๆ เราเอามาเลี้ยงในกระถางเล็กๆ บังคับไม่ให้ต้นโต แต่มีการดัดกิ่ง ตกแต่งลำต้น และกิ่งก้านให้มองดูเหมือนกับ เอาต้นไม้ใหญ่ๆ มาย่อส่วนลง โดยยังคงลักษณะรูปทรงเดิมของไม้นั้นๆ อยู่ และมิหนำซ้ำพอถึงฤดูกาล ที่ไม้ชนิดนั้นต้นใหญ่ๆ ออกดอกออกผล ไม้แคระของเราก็ควรจะมีดอกมีผลกับเขาด้วยเหมือนกัน ฉะนั้นก็คงพอเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่า คำว่า"บอนไซ"เป็นคำรวม อันหมายถึงต้นไม้ทุกชนิด ที่เอามาทำให้เป็นไม้แคระ ไม่ใช่ชื่อของพันธุ์ไม้พันธุ์ใดพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ ที่ต้องแจงสี่เบี้ยกันตรงนี้ก่อนก็เพราะ เคยมีประสบการณ์มากับตัวเอง ผู้เขียนชอบเดินดูบอนไซแถวตลาดนัดสวนจตุจักรเป็นการผ่อนคลายอารมณ์ วันหนึ่งกำลังเดินดูอยู่ฝั่งตรงข้ามองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรหรือที่รู้จักกันว่า "อตก." ก็เห็นคุณผู้หญิงที่เดินผ่านมา ชี้ให้เพื่อนดูต้นมะขามเทศที่ทำเป็นไม้แคระไว้ ก็เหมือนกับต้นมะขามเทศ ในรูปทางข้ายมือนี่แหละ พร้อมกับบอกว่า "นั่นไง...ต้นบอนไซ !" เพื่อนของเธอ ก้มลงไปดูจนใกล้แล้วบอกว่า "......นี่มันต้นมะขามเทศน่ะ" แต่คุณเธอยังยืนยันเสียงแข็งว่า"....ไม่ใช่หรอก... ต้นบอนไซต่างหาก

ไม้ดัดไม้แคระ

              




 ไม้ญี่ปุ่น ลักษณะเป็นไม้ดัดที่คล้ายกับไม้แคระทรงญี่ปุ่น        และวิธีการดัดก็คล้ายๆกัน คือ ทำโคนต้นใหญ่และบังคับให้แคระ  แกร็นปลายต้นเรียว ลำต้นจะตรงหรือเอนเล็กน้อยก็ได้

ไม้ดัดไม้แคระ

    
       
                                                                   
                                                           ไม้ญี่ปุ่น ลักษณะเป็นไม้ดัดที่คล้ายกับไม้แคระทรงญี่ปุ่น       
        

และวิธีการดัดก็คล้ายๆกัน คือ ทำโคนต้นใหญ่และบังคับให้แคระ  แกร็นปลายต้นเรียว ลำต้นจะตรงหรือเอนเล็กน้อยก็ได้